กระทรวงพาณิชย์ ประกาศถึงการเริ่มบังคับใช้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับใหม่ ภายในวันนี้ (23 ส.ค. 2565) โดยเพิ่มในส่วนของการคุ้มครองการละเมิดทางออนไลน์ และเพิ่มโทษผู้ผลิต-ผู้ขายอุปกรณ์ละเมิด (23 ส.ค. 2565) กระทรวงพาณิชย์ ประกาศถึงการบังคับใช้งาน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป กฎหมายฉบับดังกล่าวนั้น จะมีการเพิ่มเติมในส่วนของการคุ้มครองการละเมิดทางออนไลน์ บนแพลตฟอร์มเช่น Facebook และ Youtube เป็นต้น, การคุ้มครองงานภาพถ่ายตลอดชีวิตต่อเนื่องอีก 50 ปี หลังเสียชีวิต และเพิ่มโทษผู้ผลิต-ผู้ขายอุปกรณ์ที่ใช้งานละเมิด
นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
เปิดเผยว่า พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค.2565 เป็นต้นไป มีสาระสำคัญ คือ สามารถถอดงานละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ทันที โดยเจ้าของแพลตฟอร์ม เช่น Facebook YouTube สามารถถอดงานละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบ เมื่อได้รับการแจ้งจากเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางศาล มีการขยายอายุความคุ้มครองภาพถ่ายไปตลอดชีวิตผู้สร้างสรรค์และต่อเนื่องไปอีก 50 ปีหลังจากเสียชีวิต ทำให้ศิลปินผู้สร้างสรรค์ชาวไทยรวมถึงทายาทได้รับประโยชน์ และได้เพิ่มบทลงโทษผู้ผลิต ผู้ขายอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อละเมิดลิขสิทธิ์
นายสินิตย์ กล่าวว่า “การปรับปรุงกฎหมายลิขสิทธิ์ดังกล่าว จะช่วยยกระดับการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์บนสื่อออนไลน์ เพราะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันทีที่พบการละเมิด มีการขยายอายุการคุ้มครองภาพถ่าย และสอดคล้องกับหลักสากลและรองรับการเข้าเป็นภาคีความตกลงสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WCT) ซึ่งไทยได้ยื่นภาคยานุวัติสารต่อองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าวแล้ว โดยจะมีผลให้ประเทศไทยได้เป็นสมาชิกลำดับที่ 113 ตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค.2565 เป็นต้นไป รวมทั้งเข้มงวดในการจัดการกับผู้ผลิต ผู้ขายอุปกรณ์ที่ใช้ในการละเมิด ถือเป็นการยกระดับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้เท่าทันการค้ายุคดิจิทัล ยกระดับการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์บนสื่อออนไลน์ ตลอดจนสนับสนุนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล ที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นผู้ประกอบการและนักลงทุน”
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า กรมฯ ขอขอบคุณหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ที่เล็งเห็นความสำคัญและร่วมผลักดัน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยเชื่อมั่นว่ากฎหมายดังกล่าวจะช่วยยกระดับการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ไทยให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจในยุคดิจิทัล รวมทั้งส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานลิขสิทธิ์ของศิลปินไทย ขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์อย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ กรมฯ จะเดินหน้าสร้างความตระหนักรู้ โดยจัดให้มีการสัมมนาและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ และประกาศกระทรวงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยศิลปินผู้สร้างสรรค์หรือประชาชนทั่วไป มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ฉบับใหม่ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองกฎหมาย กรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร. 02-5475191
SCB แจกเงิน 4,000 บาท ช่วยเหลือพนักงานค่าครองชีพสูง 1 ก.ย. 65
ถือเป็นข่าวดี เมื่อ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB ประกาศ แจกเงินพนักงาน 4,000 บาท ในวันที่ 1 กันยายน 2565 นี้ ช่วยเหลือในสภาวะที่ค่าครองชีพและราคาสินค้าปรับตัวขึ้นสูง เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ตลอดจนบรรเทาความยากลำบากของพนักงานผู้มีภาระทุกคน
สำหรับคนที่สงสัยและอยากรู้ว่า จะมีใครได้รับเงินแจก 4,000 บาท จาก SCB ครั้งนี้บ้าง ไปส่องเงื่อนไขพร้อมรายละเอียดด้วยกันได้เลย
ทำไม SCB ถึงแจกเงิน 4,000 บาท เงื่อนไขคืออะไร แจกให้ใครบ้าง เริ่มวันที่ 1 กันยายน 2565 นี้แล้ว สำหรับการได้รับเงินช่วยเหลือ แจกฟรี 4,000 บาท จากธนาคารไทยพาณิชย์ โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
SCB แจกเงิน 4,000 บาท ใครได้รับบ้าง ? การแจกเงิน 4,000 บาทของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เป็นไปตามทฤษฎีที่มีชื่อเรียกว่า ทฤษฎีเก้าอี้ 3 ขา ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งสะท้อนว่าพนักงานคือหัวใจสำคัญในการทำงานขององค์กร
ทฤษฎีเก้าอี้ 3 ขา คืออะไร ทำไม SCB ต้องแจกเงินพนักงาน
การแจกเงินพนักงานของ SCB ในครั้งนี้ เป็นไปตามแนวคิด ทฤษฏีเก้าอี้ 3 ขา โดยทางธนาคารได้ให้เหตุผลว่า พนักงานคือหัวใจสำคัญในการทำงาน
อ้างอิงตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว ทฤษฎีเก้าอี้ 3 ขา ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นไปตาม 3 เงื่อนไขหลัก ได้แก่
Scarce Resource Theory : ทฤษฎีการใช้ทรัพยากรที่จำกัด
Substainable Resource Theory : ทฤษฎีการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
Human Capital theory : ทฤษฎีมองมนุษย์ให้เป็นทุน
การปฏิบัติตามแนวคิดนี้ จะช่วยให้ทั้งองค์กรและพนักงาน เติบโตขึ้นอย่างยั่งยืนและแข็งแรง โดยเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน องค์กรได้กำไรจากการทำงานของพนักงาน พนักงานได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อความเหนื่อย
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง